วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การดูแลรักษาเครื่องเรือนที่ทำด้วยพลาสติก


สิ่งที่ควรปฏิบัติในการใช้เครื่องใช้พลาสติก:
1.       ควรเลือกเครื่องใช้ที่ทำด้วยพลาสติกใสหรือขาวเพื่อความปลอดภัยจากสีที่
เจือปน
2.       ไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารที่ร้อนจัด  เพราะพลาสติกไม่ทนต่อความ
ร้อน  อาจเกิดการสลายตัวปะปนเข้าไปในอาหาร
3.       ไม่วางเครื่องใช้พลาสติกไว้ใกล้เตาไฟ หรือแหล่งความร้อนอื่น  เพราะจะทำให้
เกิดการหลอมละลายเสียหาย
วิธีดูแลรักษา:                                                                          
1.       ไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติกใส่ของร้อนจัดจนเกินไป  เพราะพลาสติกอาจละลาย
เสียรูปทรง และเป็นอันตรายจากการละลายของสารเคมี
2.       พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารโพลีไวนีลคลอไรด์ หรือ พีวีซี  ใช้ทำขวด  หรือ
ของเด็กเล่น  เป็นต้น  อาจเป็นอันตรายจากการละลายของสารเคมีที่ไม่ควรนำมาใช้บรรจุของเหลวร้อน
3.       การล้างทำความสะอาดพลาสติกประเภทเมลามีน  ใช้ล้างด้วยน้ำสบู่  หรือน้ำ  
ผงซักฟอก  เช็ดให้แห้ง เก็บเข้าที่
4.       ถ้าภาชนะเปื้อนไขมันคราบไคลต่าง ๆ ให้ล้างด้วยน้ำอุ่น อย่าใช้ฝอยขัดหม้อที่
เป็นโลหะขัด เพราะจะทำให้เป็นรอยขูดขีด
5.       ถ้ามีกลิ่นอาหารให้ล้างด้วยน้ำส้มสายชู  หรือใช้เปลือกมะนาวถู  แล้วล้างออก
ด้วยน้ำสะอาด
การเก็บรักษา:
เครื่องใช้พลาสติกที่ทำความสะอาดแล้ว วางซ้อนเก็บในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้  ส่วนเครื่องเรือนวางตั้งในห้องต่าง ๆ ใช้ผ้าคลุมป้องกันฝุ่นละอองหรือเก็บในห้องเก็บของ
การดูเเลพลาสติก

การดูแลรักษาเครื่องเรือนที่ทำด้วยหนัง


 เครื่องเรือนที่ทำจากหนังมี  2  แบบ:  คือ  แบบหนังเรียบธรรมดา  และแบบหนังกลับ  ใช้ทำชุดรับแขก  กระเป๋า  รองเท้า  เข็มขัด  มีวิธีดูแลรักษาตามชนิดของเครื่องหนัง  ดังนี้
 เครื่องหนังธรรมดา:       ให้ทำความสะอาดด้วยการใช้แปรงอ่อน ๆ ปัดฝุ่น  หรือสิ่งสกปรกออกให้หมดก่อน  แล้วใช้เศษผ้า  ฟองน้ำ  หรือแปรงขัดหนัง  ขัดให้ทั่ว  ต่อจากนั้นให้เช็ดออกด้วยผ้านุ่ม  ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเก็บเข้าที่
หนังกลับ:         ทำความสะอาดด้วยการปัดฝุ่นละออง โดยใช้แปรงปัดฝุ่นให้ชนลู่ไปทางเดียวกันเพื่อให้สวยงาม  และระวังอย่าให้ถูกความชื้นและความร้อน  เพราะจะทำให้เสียรูปทรง
การเก็บรักษา
                           เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่กล่อง  ถุงผ้า  หรือเก็บไว้ในตู้
การดูเเลเครื่องหนัง

การดูแลรักษาเครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้


ไม้เนื้อแข็ง:       เช่น   ไม้สัก  ไม้เต็ง  ไม้มะค่า  ไม้ประดู่  เป็นต้น  มักนำมาทำเป็นเครื่องเรือน  เช่น  โต๊ะ  เก้าอี้  ชั้นวางของ  ตู้ 
วิธีดูแลรักษา  ใช้ไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออกให้หมด  ใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าขนหนูที่สะอาดชุบน้ำบิดให้หมาด  เช็ดฝุ่นให้สะอาดทุกซอกทุกมุม  ทิ้งให้แห้ง  หากมีรอยเปื้อนมาก ๆ ขัดออกด้วยกระดาษทราย ทาขี้ผึ้งแล้วขัดด้วยผ้าแห้ง  หรือใช้น้ำยาชักเงาที่ขายสำเร็จรูปฉีดแล้วทิ้งให้แห้ง  ไม่ควรให้เปียกน้ำ
ไม้เนื้ออ่อน:      เช่น  ไม้ไผ่  หวาย  มักนำมาทำเป็นเครื่องเรือน  เช่น  โต๊ะ  เก้าอี้  เตียงนอน  ชั้นวางของ
            วิธีดูแลรักษา  ใช้แปรงหรือไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออก  แล้วใช้ผ้าฝ้ายสะอาดชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดออก  ทิ้งไว้ให้แห้ง  ควรฉีดยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันมอด  แล้วนำออกตากแดด  ไม่ควรใช้มือเปียกจับเครื่องเรือน  เพราะจะทำให้เกิดรอยด่าง  ถ้ามีรอยเปื้อนมาก ๆ ให้เช็ดด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำอุ่นให้ทั่ว  แล้วขัดด้วยขี้ผึ้ง
การดูเเลเครื่องไม้

การถนอมอาหารด้วยวิธีการกวน


การถนอมอาหารด้วยวิธีการกวน: การที่นำเนื้อผลไม้ที่สุกแล้วผสมกับน้ำตาล โดยใช้ความร้อน เพื่อกวนผสมให้กลมกลืนกัน โดยมีรสหวาน และให้เข้มข้นขึ้น            
การใส่น้ำตาลในการกวนมี  2 วิธี คือ ใส่น้ำตาลแต่น้อยใช้กวนผลไม้ เพื่อทำแยม เยลลี่ เป็นต้น และการกวนโดยใช้ปริมาณน้ำตาลมาก เช่น การกวนผลไม้แบบแห้ง เช่น กล้วยกวน สับปะรดกวน ทุเรียนกวน เป็นต้น
 ประโยชน์ของการกวน:
              1. ช่วยให้เก็บอาหารไว้นาน
              2. ช่วยให้อาหารมีกลิ่น รสชาติ ต่างไปจากอาหารสด ผักและผลไม้ที่ใช้กวน ได้แก่ เผือก มันเทศ ฟักทอง สับปะรด กล้วย มะขาม
ข้อควรระวัง:
              1. เมื่อเริ่มกวนให้ใช้ไฟปานกลาง  พอเริ่มงวดให้ลดไฟอ่อน ต้องคอยคนตลอดเวลาและระวังอย่าให้อาหารไหม้ติดกระทะ  ถ้าไหม้ต้องเปลี่ยนกระทะทันที
              2. การกวนกับน้ำตาลอย่างเดียว เช่น มะละกอกวนเส้น จะได้อาหารกวนที่ตกผลึก แข็ง ไม่ใส   ถ้าใส่น้ำมะนาว   เป็นส่วนผสมด้วยขณะกวน  จะได้อาหารกวนใส  เหนียว  และน้ำตาลไม่ตกผลึก 
 
มะม่วงกวน

การถนอมอาหารโดยการดอง

การถนอมอาหารโดยการดอง: โดยใช้จุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดย 
จุลินทร์ทรีย์นั้นจะสร้างสารบางอย่างขึ้นมาในอาหาร ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวอื่นๆได้ ดังนั้นผลของการหมักดองจะทำให้อาหารปลอดภัยจาก
จุลินทร์ทรีย์ชนิดอื่นๆ และยังทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม เป็นการเพิ่มกลิ่น และรสชาติของอาหารให้แปลกออกไป
การเก็บรักษา: อาหารดอง ควรเก็บรักษาในที่สะอาด แห้ง และเย็น อากาศถ่ายเทสะดวกไม่ควรวางในที่ร้อน ชื้น และแสงแดดส่องถึง
ประโยชน์ของการดอง:
        1. ทำให้เก็บอาหารได้นานขึ้น เช่น ไข่เค็ม
        2. ทำให้อาหารมีสี กลิ่น และรสต่างออกไป เช่น ผักกาดดอง
        3. ทำให้อาหารที่ใช้บริโภคไม่ได้ ให้สามารถบริโภคได้ เช่น มะม่วงอ่อนดอง
        4. ทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ เช่น น้ำส้มสายชู
        5. เสริมคุณค่าทางอาหาร เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ซึ่งให้โปรตีนสูงกว่าถั่วสุกธรรมดา
การดอง

การถนอมอาหารโดยตากแห้ง


การถนอมอาหารโดยตากแห้ง:  เป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ เป็นวิธีที่ทำให้อาหารหมดความชื้นหรือมีความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเกาะอาศัยและเจริญเติบโตได้ ทำให้อาหารไม่เกิดการบูดเน่า โดยการนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น
ก่อนตากแห้ง: จะต้องล้างให้สะอาด ถ้าเป็นพวกผักมักลวกด้วยน้ำเดือดเสียก่อน ทำให้หยุดยั้งปฏิกิริยาเคมี บางรายนิยมนำเอาผลไม้ไปรมควันกำมะถันอ่อน ๆ ก่อนที่จะตากแห้ง ซึ่งจะช่วยให้มีสีและรสดีขึ้น ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดรสเปรี้ยวและช่วยกันไม่ให้แมลงกัดกินอีกด้วย อาหารที่นิยมถนอมโดยการตากแห้ง มักเป็นประเภทผัก ผลไม้ และเนื้อ เช่น ดีปลี พริก (พริกไทย) เห็ดบางชนิด (เช่น เห็ดแครงที่ขึ้นตามต้นไม้มะขามที่ล้มตาย เป็นต้น) หมากแห้ง (ฝานก่อนตาม) กล้วยตาก (กล้วยสุกปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ลูกหยี (ปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ส้มแขก (ผลไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลม หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตากแห้ง ใช้ในการปรุงอาหาร) เนื้อเค็ม ปลาเค็ม
การตากแห้งอาหารประเภทเนื้อ: มักใช้เกลือช่วยเพื่อกันการบูดเน่า และช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น หอยตาก (หอยน้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายหอยแครงแต่ขนาดเล็กว่า ชอบอยู่ในทะเลสาบ อาจลวกให้สุกด้วยน้ำเกลือที่ร้อนจัด หรือคลุกเกลือแล้วตากแดด โดยมากนิยมใช้วิธีหลังจึงเรียกหอยชนิดนี้ตามกรรมวิธีที่นิยมนั้นว่าหอยตาก) ปลาริ้ว (ปลาช่อนตัวโต ๆ ที่นำมาผ่าเป็นริ้ว ๆ แล้วตากแห้ง) ปลาแห้ง (ปลาเกลือ) เนื้อแห้ง (เนื้อเค็ม) เคย (กะปิ) บางชนิดต้มให้สุกเสียก่อนแล้วนำมาตากแห้ง เช่น สารกุ้ง (กุ้งแห้ง) ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบปลา เป็นต้น
ปลาหมึกเเห้ง

ชงโค


ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia purpurea L.
ชื่อสามัญ: Purple Orchid Tree, Hong Kong Orchid Tree, Purple Bauhinia
ชื่ออื่นๆ: เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน)            
วงศ์:  LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
           ไม้ต้น สูงได้ถึง 10 ม. ผลัดใบช่วงสั้นๆ                                                                                 
           ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปมนเกือบกลม กว้าง 8-10 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายใบ     แยกเป็น 2 พู โคนใบมนหรือเว้า ขอบใบเรียบสีเขียว                                                                       
            ดอก ดอกช่อออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูถึงม่วงเข้ม รูปรีกว้างตรงส่วนกลาง เมื่อบานวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 6-8 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน   อยู่ตรงกลางดอก รังไข่มีขน ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกเป็นช่วงๆ ตลอดปี 
ผล ผลเป็นฝักแบน กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 20-25 ซม. เมื่อแก่แตกเป็นสองซีก เมล็ดกลม มี 10 เมล็ด

ดอกชงโค


ต้อยติ่ง


ชื่อภาษาอังกฤษ: Waterkanon, Watrakanu, Minnieroot, Iron root, Feverroot, Popping pod, Cracker plant, Trai-no, Toi ting 
 ชื่อวิทยาศาสตร์: Ruellia tuberosa Linn.
จัดอยู่ในวงศ์:  ACANTHACEAE
สมุนไพรต้อยติ่ง:  มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ต้อยติ่งไทย (Hygrophila erecta Hochr. หรือ Hygrophila guadrivalvis Nees.) ซึ่งเป็นต้อยติ่งดั้งเดิมในบ้านเราซึ่งในปัจจุบันคงได้เห็นน้อยลงทุกที และ ต้อยติ่งฝรั่ง (Ruellia tuberosa Linn.) ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในช่วงฤดูฝนทั่วเมืองไทย แต่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อนนะครับ (บางแห่งเรียกว่า ต้อยติ่งเทศ”) ซึ่งทั้งสองชนิดลักษณะของดอกก็จะคล้ายๆกัน แต่จะแตกต่างกันที่ใบ และต้นต้อยติ่งฝรั่งจะต้นเล็กกว่าต้อยติ่งไทยแต่จะโตเร็วกว่า โดยต้อยติ่งที่ดอกเป็นสีม่วงคราม สีชมพู หรือดอกสีขาว จะพบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งชนิดนี้เราจะเรียกว่าต้อยติ่งฝรั่ง ลักษณะของใบจะเรียวยาวแคบ ออกเป็นสีน้ำตาลแดง มีดอกสีม่วง สีขาว หรือสีชมพู ส่วนสรรพคุณทางยาของต้อยติ่งฝรั่งก็จะคล้ายๆกับต้อยติ่งไทย โดยต้อยติ่งฝรั่งนี้จะปลูกง่ายหน่อยและนิยมนำมาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน
ลักษณะ:
ต้นต้อยติ่ง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร) ตามลำต้นจะมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด (แต่ปกติก็เป็นไม้พรรณไม้ที่ขึ้นง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วๆไปอยู่แล้ว)
ใบต้อยติ่ง ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว เรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามข้อต้น ใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบเรียบไม่มีจัก แต่อาจจะมีคลื่นเล็กน้อย ขนาดความกว้างของใบประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2.5-3 นิ้ว
ดอกต้อยติ่งฝรั่ง จะออกดอกเป็นช่อหรือบางทีก็ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบที่ส่วนยอดของต้น ดอกมีสีม่วง ลักษณะของดอกคล้ายรูปกรวยปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ มีเกสรอยู่กลางดอก 4 อัน อันสั้น 2 อัน และอันยาว 2 อัน
ผลต้อยติ่ง หรือ ฝักต้อยติ่ง (เม็ดเป๊าะแป๊ะเมล็ดต้อยติ่ง) ลักษณะเป็นฝักยาว มีความยาวประมาณ 1 นิ้วกว่า ถ้าผลได้รับความชื้นหรือถูกน้ำมากๆ ผลก็จะแตกออกเป็น 2 ซีก และภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ 8 เมล็ด

ดอกต้อยติ่ง




เฟื่องฟ้า


ชื่อสามัญ: Paper Flower, Bougainvillea
ชื่อวิทยาศาสตร์: Bougainvillea glabra Choisy. จัดอยู่ในวงศ์: NYTAGINACEAE
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ: ดอกต่างใบ (กรุงเทพฯ)ดอกกระดาษดอกโคม (ภาคเหนือ)ตรุษจีน (ภาคกลาง), เย่จื่อฮวา จื่อซานฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น
ประวัติเฟื่องฟ้า: ต้นเฟื่องฟ้าถูกพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก เริ่มจากทางยุโรปอเมริกาเหนือและเอเชีย สำหรับในประเทศไทยได้มีการนำพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2423 (รัชการที่ 5) และมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน โดยสายพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าในประเทศก็มีจำนวนไม่น้อยไปกว่าต่างประเทศ เนื่องมาจากต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย
ลักษณะ: ต้นเฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำ และแสงแดดแบบเต็มวัน
            ใบเฟื่องฟ้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรี หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบบาง มีหนามอยู่ตามง่ามใบ มีก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
ดอกเฟื่องฟ้า ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบและปลายกิ่ง มี 3 ดอก ดอกมีหลายสี ทางจีนนิยมนำมาใช้เป็นยา คือ ดอกสีม่วง หรือสีแดง ดอกที่เป็นสีๆ ก็คือใบที่เปลี่ยนสี เรียกว่า ใบดอก มีลักษณะบางคล้ายกับกระดาษ ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม ในหนึ่งดอกจะมีใบดอก 3 ใบ เชื่อมติดกัน ใบดอกจะกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีเกสรเป็นรูปทรงกระบอกสีเขียว
ผลเฟื่องฟ้า ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นสัน 5 เหลี่ยม เปลือกแข็งและมีเมล็ดติดกับเปลือก

ต้นเฟื่องฟ้า

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ: นางสาว นันทนัช  สมวงศ์            ชื่อเล่น: ฝ้าย
วัน/เดือน/ปีเกิด: 21 กันยายน 2541      อายุ: 15 ปี
กรุ๊ปเลือด: โอ
การศึกษา: กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4/8  โรงเรียน สุราษฎร์พิทยา
ที่อยู่: บ้านเลขที่ 15  หมู่ 4  ตำบล.แม่น้ำ   อ.เกาะสมุย  จ.สุราษฎร์ธานี
เบอร์โทรศัพท์: 088-3819419  อีเมล์: nantanatlovesamui@gmail.com
คติประจำใจ: ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
อาชีพที่ใฝ่ฝัน: เภสัชกร
สีที่ชอบ: สีฟ้า 
กีฬาที่ชอบ: วอลเลย์บอล ว่ายน้ำ
สถานที่ที่อยากไป: หมู่เกาะมัลดีฟ์