ชื่อสามัญ: Paper Flower, Bougainvillea
ชื่อวิทยาศาสตร์: Bougainvillea glabra Choisy. จัดอยู่ในวงศ์: NYTAGINACEAE
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ: ดอกต่างใบ (กรุงเทพฯ), ดอกกระดาษดอกโคม (ภาคเหนือ), ตรุษจีน (ภาคกลาง), เย่จื่อฮวา จื่อซานฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น
ประวัติเฟื่องฟ้า: ต้นเฟื่องฟ้าถูกพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ
ของโลก เริ่มจากทางยุโรปอเมริกาเหนือและเอเชีย
สำหรับในประเทศไทยได้มีการนำพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี
พ.ศ.2423 (รัชการที่ 5) และมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน
โดยสายพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าในประเทศก็มีจำนวนไม่น้อยไปกว่าต่างประเทศ
เนื่องมาจากต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย
ลักษณะ: ต้นเฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี
สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร
ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้
ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย
มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด
เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำ และแสงแดดแบบเต็มวัน
ใบเฟื่องฟ้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่
รูปรี หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบบาง มีหนามอยู่ตามง่ามใบ
มีก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
ดอกเฟื่องฟ้า ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบและปลายกิ่ง มี 3 ดอก ดอกมีหลายสี ทางจีนนิยมนำมาใช้เป็นยา
คือ ดอกสีม่วง หรือสีแดง ดอกที่เป็นสีๆ ก็คือใบที่เปลี่ยนสี เรียกว่า ใบดอก
มีลักษณะบางคล้ายกับกระดาษ ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม ในหนึ่งดอกจะมีใบดอก 3
ใบ เชื่อมติดกัน ใบดอกจะกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร
และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีเกสรเป็นรูปทรงกระบอกสีเขียว
ผลเฟื่องฟ้า ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นสัน 5 เหลี่ยม เปลือกแข็งและมีเมล็ดติดกับเปลือก
![]() |
ต้นเฟื่องฟ้า |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น